อาเซียน

อาเซียน

อาเซียน

กำเนิดอาเซียน

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

สรุปการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19


สรุปการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๙

สรุปการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๙
ใจความหลักของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๙ ว่าด้วย ประชาคมอาเซียนในเวทีโลก” มีดังนี้
  • ผู้นำอาเซียนร่วมลงนามในปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก (Bali Declaration on ASEAN Community in a Global Community of Nations-  Bali Concord III) เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในประชาคมโลกมากยิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีบทบาทในขอบเขตที่กว้างกว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น อีกทั้งยังเป็นตอกย้ำความเป็นภูมิภาคนิยมแบบเปิดที่ไม่ปิดกั้นประเทศจากภายนอกอีกด้วย
  • ตกลงสนับสนุนให้พม่าดำรงตำแหน่งเป็นประธานอาเซียนในปี ๒๕๕๗ หลังจากที่พม่ามีความพยายามในการปฏิรูปภายในประเทศหลายประการ รวมทั้งการปล่อยตัวนางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญจากการกักบริเวณ การปล่อยตัวนักโทษการเมืองจำนวนหนึ่ง และการยอมให้พรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางซูจีสามารถจดทะเบียนเข้าร่วมในการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้
  • ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนในความหลากหลายสู่การสร้างความแข่งแกร่งให้ประชาคมอาเซียน (Declaration on ASEAN Unity In Cultural Diversity: Towards Strengthening ASEAN Communityอันเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของอาเซียนในประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งตระหนักถึงความหลากหลายในภูมิภาค ซึ่งไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคในความเป็นเอกภาพของอาเซียน
  • จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและจัดการกับผลกระทบจากภัยพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on Disaster Management-AHA)โดยศูนย์ดังกล่าวจะบริการข้อมูลต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการประสานงานและจัดการเพื่อให้การช่วยเหลือง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น